เรียนอาจารย์จินตนา สุขสำราญ (อาจารย์ผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย)
เนื่องจากข้าพเจ้ามีกิจธุระจำเป็นต้องไปต่างจังหวัดกับผู้ปกครองจึงไม่สามารถมาเรียนในวันที่ 27 พ.ย. 2550ได้ แต่ข้าพเจ้าจะพยายามส่งงานตามที่กำหนดให้ทันเวลา จึงเรียนมาเพื่อทราบ ขอรับรองว่าข้อความข้างต้นเป็นความจริงทุกประการ
ด้วยความรักและเคารพ
นางสาวสุขฤทัย พรประสิทธิ์
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สิ่งที่ด้จากการเรียน(26 พ.ย. 2550)
วันนี้เรียนรู้เกี่ยวกับเพลง และนิทานทางคณิตศาสตร์มากมาย และอาจารย์สอนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์แก่เด็กว่าควรจัดให้เหมาะสมกับพัฒนาการและวิธีการเรียนรู้โดยเริ่มจากการเรียนรู้จากของจิง ของจำลอง รูปภาพต่อมาเป็นเรื่องของนามธรรม การจัดกิจกรรมนั้นมีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการและอาจารย์ให้งานไปหาตารางกิจกรรมประจำวันของโรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษม แบ่งกิจกรรมเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยนำเอากิจกรรมแบบไม่เป็นทางการมาบูรณาการด้วย และหาดูว่าขณะนี้ที่โรงเรียนสาธิตเรียนหน่วยอะไรและมีเนื้อหาสาระอย่างไรบ้าง
วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
บทความทางคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์กับดนตรี
ดนตรีเป็นสิ่งที่เข้ามาผูกพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ มนุษย์ได้ยินเสียงจากธรรมชาติ และดัดแปลงนำเอาอุปกรณ์จากธรรมชาติมาสร้างเสียงดนตรี และยังพยายามเลียนแบบการสร้างสัญญาณเสียงดนตรีโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การใช้อิเล็กทรอนิกส์สร้างสัญญาณเสียงโดยตรง
เครื่องดนตรีที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า ทั้งหมดให้เสียงออกมาและมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแตกต่างกันไป
ดนตรีจึงเกี่ยวพันกับคณิตศาสตร์อยู่มากพอ เพราะการที่มีเสียงปรากฏออกมา เสียงแต่ละตัวโน้ตผูกพันสร้างความไพเราะ จึงจำเป็นต้องมีหลักการและหารูปแบบที่เหมาะสม เช่นในปัจจุบันมีการสร้างฟอร์แมต MIDI ซึ่งทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเสียงดนตรีหลายชิ้น ประสานเสียงกันได้อย่างไพเราะ การสร้างเพลงหนึ่ง ๆ จึงขึ้นกับ จังหวะ และการวางตัวโน้ต, โทน ตามตัวโน้ต และการผสมประสานเสียง
ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดนตรีเป็นสิ่งที่เข้ามาผูกพันกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ มนุษย์ได้ยินเสียงจากธรรมชาติ และดัดแปลงนำเอาอุปกรณ์จากธรรมชาติมาสร้างเสียงดนตรี และยังพยายามเลียนแบบการสร้างสัญญาณเสียงดนตรีโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การใช้อิเล็กทรอนิกส์สร้างสัญญาณเสียงโดยตรง
เครื่องดนตรีที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็น เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า ทั้งหมดให้เสียงออกมาและมีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งแตกต่างกันไป
ดนตรีจึงเกี่ยวพันกับคณิตศาสตร์อยู่มากพอ เพราะการที่มีเสียงปรากฏออกมา เสียงแต่ละตัวโน้ตผูกพันสร้างความไพเราะ จึงจำเป็นต้องมีหลักการและหารูปแบบที่เหมาะสม เช่นในปัจจุบันมีการสร้างฟอร์แมต MIDI ซึ่งทำให้ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถสร้างเสียงดนตรีหลายชิ้น ประสานเสียงกันได้อย่างไพเราะ การสร้างเพลงหนึ่ง ๆ จึงขึ้นกับ จังหวะ และการวางตัวโน้ต, โทน ตามตัวโน้ต และการผสมประสานเสียง
ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สิ่งที่ได้จากการเรียน (วันที่ 20 พ.ย. 2550)
สิ่งที่ได้จากการเรียน (วันที่ 19 พ.ย. 2550)
วันนี้อาจารย์ให้อ่านงานวิจัยการทำกิจกรรมทางคณิตศาสตรืสำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งการจัดกิจกรรมนั้นต้องมีความสอดคล้องกับพัมนาการของเด็กรวมไปถึงความพร้อมด้วย การจัดกิจกรรมควรบูรณาการเรื่องต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ครูควรมีการวางแผนการจจัดการสอนเด็กก่อนลงมือจัดกิจกรรมจริง กิจกรรมควรมีสิ่งดึงดูดความสนใจของเด็กเพื่อไม่ให้เด็กเกิดความเบื่อหน่าย เช่น การร้องเพลง เล่านิทาน จัดกิจกรรมที่สนุกสนานและควรจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก ครุและผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกันในการส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน และอาจารย์สั่งงานให้แต่งเพลง นิทานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก
วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 13 พ.ย. 2550
สิ่งที่ได้จากการเรียน
สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 12 พ.ย. 2550 เรียนเรื่อง เราสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยเพื่ออะไร เพื่อให้ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กต้องมีเนื้อหาที่ง่าย เด็กเรียนแล้วมีความสุข เหมาะสมกับพัฒนาการ สอดคล้องกับการเรียนรู้
ความหมายทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กนับ แทนค่า เปรียบเทียบสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
สรุปงานวิจัย(วันที่ 13 พ.ย.2550)
งานวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กแต่ละคนนั้มีความสามารถแตกต่างกัน ทั้งด้านสติปัญญา เพศ อายุ ความพร้อมและความต้องการของเด็ก งานวิจัยครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นกับเด็กปฐมวัยระดีบชั้น เด็กอนุบาล 2 ปี 2543 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 614 คน จาก 15 โรงเรียน จัดทำโดยการสร้างแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้สื่อการเรียนการสอนแตกต่างกันเช่น แบบจำลองภาพต่างๆ และให้เด็กได้ลงมือทำแบบทดสอบ เมื่อเด็กทำแบบทดสอบเสร็จก็ทำการประเมินเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสาตร์ หลังจากนั้นนำผลการประเมินไปศึกษาเพื่อพัฒนาการจักประสบการณืการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เด็กในการศึกษาในระดับชั้นต่อไป
การจัดทำงานวิจัยในครั้งนี้ ทำขึ้นเพื่อศึกษา ทดลอง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสื่อทางคณิตศาสตร์ที่จะสร้างศักยภาพทางคณิตศาสตร์ และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก
วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
นวัตกรรมอันลำเลิศ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)