วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2550

บทความคณิตศาสตร์



"ทักษะคณิตศาสตร์" สร้างได้...โดย กองบรรณาธิการนิตยสารรักลูก

เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่ ?
คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...
ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?
ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้าง เพราะมีหลายคนที่เข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก เพราะยังหมายรวมถึงรูปทรง การจับคู่ การชั่งตวงวัด การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การจัดประเภท เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็คือคณิตศาสตร์เช่นเดียวกัน
เริ่มได้เมื่อไหร่ดี
เมื่อเรารู้ถึงเนื้อหาในเรื่องต่างๆ ของคณิตศาสตร์แล้ว เราจะพบว่าการส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์สามารถเริ่มได้ตั้งแต่เด็กลืมตาดูโลก เมื่อลูกมองเห็นสีสันของโมบายที่คุณแม่แขวนเอาไว้ให้เหนือเปล เขาก็จะมองเห็นความแตกต่างของสีสัน
บ้านที่จัดสิ่งแวดล้อมแบบนี้ให้ลูก ก็ถือว่าได้ส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้กับเขาแล้ว เพราะหนูน้อยต้องได้สะสมประสบการณ์เหล่านี้ขึ้นมา เพื่อเป็นพี้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผู้ใหญ่จัดหมวดหมู่ไว้ในอนาคต ถ้าเราไม่ตีกรอบว่าคณิตศาสตร์ คือ จำนวนและตัวเลขเท่านั้น เราก็สามารถส่งเสริมลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด ผ่านการจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ความเข้าใจที่แตกต่าง
การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะ
สำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว
เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
หลักของการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้เด็ก คือ เรียนรู้จากรูปธรรมไปนามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่ไกลตัว คนไทยโบราณจะมีเพลงร้องเกี่ยวกับอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเรียนเรื่องง่ายๆ ก็คือ การเรียนรู้จากอวัยวะของตัวเองนั่นเอง เช่น ตาสองตา จมูกหนึ่งจมูก หูสองหู เมื่อเด็กเกิดมานิ้วมือก็รองรับเลขฐานสิบให้เขาได้เรียนรู้ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นการเรียนคณิตศาสตร์ในเรื่องจำนวนและตัวเลขโดยไม่รู้ตัว หรือบ้านไหนที่คุณแม่จัดระเบียบ มีการแยกประเภทเสื้อผ้า เช่น ลิ้นชักชั้นล่างใส่กางเกง ชั้นสองใส่เสื้อกล้าม ชั้นสามใส่ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ลูกบ้านนี้ก็จะได้เรียนคณิตศาสตร์เรื่องการจัดกลุ่ม การแยกประเภทไปด้วยเช่นกัน จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายค่ะที่พ่อแม่บางคนพยายามค้นหาอุปกรณ์ หรือกลวิธียากๆ ในการสอนเด็ก แต่กลับละเลยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเหล่านี้ไป
เด็กวัยนี้เรียนรู้จากการเล่นและการกระทำ เราจึงควรส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์ให้อยู่ในชีวิตประจำวันของเขา เช่น เวลาคุณแม่จัดโต๊ะอาหารก็เรียกเจ้าตัวน้อยมาช่วยจัดด้วย ว่านี่คือจานคุณพ่อ จานคุณแม่ จานพี่ เขาก็จะได้เรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เป็นต้น กิจวัตรประจำวันของเด็กมีคณิตศาสตร์ซ่อนอยู่มากมายค่ะ แม้แต่งานบ้านง่ายๆ ก็เป็นของวิเศษที่สามารถส่งเสริมคณิตศาสตร์ให้ลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักดึงสิ่งเหล่านี้ออกมาให้ลูกเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อมหรือกิจกรรมแล้วเปิดโอกาสให้เขามาช่วยกันคิด
ขอเพียงแค่เข้าใจ
เมื่อเด็กเข้าเรียนอนุบาลจะเริ่มมีแบบฝึกหัดที่เป็นระบบสัญลักษณ์เข้ามา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตลูก คือ ลูกเรานั้นมีความพร้อมที่จะรับระบบสัญลักษณ์เหล่านั้นหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็ไม่ต้องบังคับว่าลูกต้องเข้าใจตอนนี้นะคะ เพราะบางครั้งลูกของเราอาจจะยังคงต้องการเรียนรู้จากสิ่งที่จับต้องได้ เราก็ควรช่วยเหลือและส่งเสริม
ยกตัวอย่างนะคะ เมื่อมีการบ้านที่ต้องเติมเครื่องหมายมากกว่าหรือน้อยกว่า แล้วมีตัวเลข 5 กับ 6 เราอาจช่วยเตรียมสื่อให้ลูกนับประกอบการทำการบ้านประเภทเม็ดกระดุม ก้อนหิน ฯลฯ ให้เขาเห็นเป็นรูปธรรมว่ามันมากกว่าจริงๆ เพราะฉะนั้นสัญลักษณ์ที่เหมือนปากกว้างๆ นี้จะต้องหันหน้าไปกองกระดุมหรือกองก้อนหินที่มากกว่า เป็นต้น
ความพร้อมของเด็กย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล คุณพ่อคุณแม่เองต้องเป็นคนคอยสังเกตว่าลูกเราอยู่ในระดับใด พร้อมมากแค่ไหน ไม่มีประโยชน์ที่จะเร่งลูกในยามที่เขายังไม่เข้าใจระบบสัญลักษณ์นะคะ การที่เราไปเร่งเด็กอาจทำให้เขามีความฝังใจว่าคณิตศาสตร์นั้นมันยากแสนยาก และไม่อยากจะเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์อีก
อ่านต่อได้ในนิตยสารรักลูกเดือนกันยายน 2549 นี้ค่ะ
ข้อมูลจาก : นิตยสารรักลูก ฉบับที่ 284 เดือนกันยายน พ.ศ.2549


วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เกมส์คณิตศาสตร์


หมากเก็บ (MARK-KEB)


จำนวนผู้เล่น 2 - 4 คน


วิธีเล่น ใช้ก้อนกรวดที่มีลักษณะกลมๆ 5 ก้อน เสี่ยงทายว่าใครจะเล่นก่อน โดยวิธีขึ้นร้าน คือ ถือหมาก ทั้งห้าเม็ดไว้แล้วโยนพลิกหงายหลังมือรับ แล้วพลิกมือกลับรับอีกที ใครเหลือหินอยู่ในหินอยู่ในมือมากที่สุด คนนั้นเล่นก่อน มีทั้งหมด 5 หมาก


หมากที่ 1 ทอดหมากให้ห่างๆ กัน เลือกลูกนำไว้ 1 เม็ด ควรใช้เม็ดกรวดที่ห่างที่สุด โยนเม็ดนำขึ้น แล้วเก็บทีละเม็ดพร้อมกับรับลูกนำที่หล่นลงมาให้ได้ ถ้ารับไม่ได้ถือว่า "ตาย" ขณะที่หยิบเม็ดที่ทอดนั้น ถ้ามือไปถูกเม็ดอื่นถือว่า ตาย


หมากที่ 2 เก็บทีละ 2 เม็ด


หมากที่ 3 เก็บทีละ 3 เม็ด


หมากที่ 4 ใช้โปะ ไม่ทอด คือ ถือหมากทั้งหมดไว้ในมือ โยนลูกนำขึ้นแล้วโปะเม็ดที่เหลือลงพื้น แล้วรวมทั้งหมดที่ถือไว้ "ขี้นร้าน" ได้กี่เม็ดเป็นแต้มของคนนั้น ถ้าขึ้นร้านเม็ดหล่นหมด ใช้หลังมือ รับไม่ได้ ถือว่า "ตาย" ไม่ได้แต้ม คนอื่นเล่นต่อไป ถ้าใครตายหมากไหนก็เริ่มต้นหมากนั้น ส่วนมาก กำหนดแต้ม 50-100 แต้ม เมื่อแต้มใกล้จะครบ เวลาขึ้นร้านต้องคอยระวังไม่ให้เกินแต้มที่กำหนด ถ้าเกิน ไปเท่าไร หมายถึงว่าต้องเริ่มต้นใหม่โดยได้แต้มที่เกินไปนั้น วิธีเล่นหมากเก็บนี้มีพลิกแพลงหลายอย่าง เช่น โยนลูกนำขึ้นเก็บทีละเม็ด เมื่อเก็บได้เม็ดหนึ่งก็โยน ขึ้นพร้อมกับลูกนำ 2 - 3 - 4 เม็ด ตามลำดับ หมาก 2 - 3 -4 ก็เล่นเหมือนกัน โยนขึ้นทั้งหมด เรียกว่า "หมากพวง" ถ้าโยนลูกนำขึ้นเล่นหมาก 1- 2 -3 -4 แต่พลิกข้างมือขึ้นรับลูกนำให้เข้าในมือระหว่างนิ้ว โป้งและนิ้วชี้ โดยทำเป็นรูปวงกลมเตรียมไว้เรียก "หมากจุ๊บ" ถ้าใช้มือซ้ายป้อง และเขี่ยหมากให้เข้าใน มือนั้นทีละลูกในหมาก 1 -2 -3 และ 4 ตามลำดับ เรียกว่า "อีกาเข้ารัง" ถ้าเขี่ยไม่เข้าจะตาย ถ้าใช้นิ้ว กลางกับนิ้วหัวแม่มือยันพื้น นิ้วอื่นปล่อยทำเป็นรูปซุ้มประตู เขี่ยหมากออกเรียกว่า "อีกาออกรัง" ถ้าใช้ นิ้วกลางกับนิ้วหัวแม่มือ ขดเป็นวงกลม นิ้วชี้ชั้ตรงนิ้ว นอกนั้นยันพื้นเป็นรูปรูปู เรียกว่า "รูปู" เมื่อจบ เกมการเล่นแล้วจะมีการกำทาย ผู้ชนะจะทายผู้แพ้ ว่ามีกี่เม็ด ถ้าทายผิดจะต้องถูกเขกเข่า กี่ทีตามที่ตนเอง ทายจนเหลือเม็ดสุดท้าย คนทายจะถือเม็ดไว้ในมือ แล้ววนพร้อมกับร้องเพลงประกอบ เมื่อร้องจบเอา มือหนึ่งกำไว้ งอข้อศอกขึ้นต้องบนมือที่กำอีกข้างหนึ่ง บทร้องประกอบ "ตะลึงตึงตัง ข้างล่างห้า ข้างบนสิบ"

เพลงคณิตศาสตร์


เพลงการบวก ลบ คูณ หาร.


การบวกกันนั้นหนา ค่าเพิ่มนั้นหนาหนูจ๋าอย่าหวั่น(ซ้ำ).

การลบลดลง ขอให้หนูจงพินิจให้ดี.

อ่านโจทย์อีกที เอ้าเร็วซีแล้วลองคิดดู.

การคูณกันนั้นหนา ค่าเพิ่มแน่หนาครั้งละเท่ากัน (ซ้ำ) ...



เพลงนับเลข


โน้นนกบินมาลิ๊บๆ นกกระจิบ 1 2 3 4 5 อีกฝูงบินล่องลอยมา6 7 8 9 10 ตัว.



จาก http://www.google.com/(clubrot.com/baby/ - 328k )

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์


กิจกรรมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์



คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด๋กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ จากคำพูดของเด็กที่เราได้ยินมักจะพบอยู่เสมอว่ามีการพูดึงการเปรียบเทียบ การวัด และตัวเลข เช่น “เอาอันที่ใหญ่สุดให้หนูนะ” “หนูจะเอาอันกลม ๆ นั่นละ” “โอ้โฮ อันนี้ราคาตั้ง 10 บาท” “หนูรู้เบอร์โทรศัพท์ที่บ้านคุณยายด้วย” “วันนี้เราตื่นสาย” “หนูไม่ไปโรงเรียน 8 โมงเช้า” “บ้านคุณยายอยู่ห่างจากบ้านหนู 20 กิโล” “หนูมีเงินตั้ง 5 บ้าน” “คุณแม่ให้เงินหนู 10 บาท” “หนูมีถุงเท้าใหม่ 3 คู่” ประโยคเหล่านี้ล้วนน่าสนใจและแสดงถึงการใช้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ มีทักษะและความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาที่สูงขึ้น และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์



1. เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การ บวกหรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ


2. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น เมื่อเด็กบอกว่า “หน่อง” หนักกว่า “ปุ้ย” แต่บางคนบอกว่า “ปุ้ย” หนักกว่า “หน่อง” เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะต้องมีการชั่ง น้ำหนักและบันทึกน้ำหนัก


3. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักและเข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น


4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ เป็นต้น


5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย



1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น


2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน



4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ



6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ



8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน 9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น


10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?


11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์


12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
หลักการสอนคณิตศาสตร์



1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน


2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ “พบคำตอบด้วยตนเอง”


3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี


4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก


5. ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียนพฤติกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม


6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิทของเด็กเพื่อสินประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ


7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์


8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยาก ๆ


9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข


10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง


11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไข ปรับปรุง


12. คาบหนึ่งควรสอนเพียงควบคิดรวบยอดเดียว


13. เน้นกระบวนการเล่นจากง่ายไปหายาก


14. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายเมื่อเด็กเข้าใจสิ่งเหล่านั้นแล้ว
การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยการนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น
ตัวอย่างกิจกรรม เพื่อฝึกการนับและแยกประเภท



จุดประสงค์


เพื่อฝึกการนับและการแยกประเภท


อุปกรณ์


1. ส้ม 2-3 ผล


2. มะม่วง 2-3 ผล3. เงาะ 2-3 ผล (เปลี่ยนเป็นผลไม้อื่น ๆ ได้ตามฤดูกาล) 4. การจาด 5. ผ้าสำหรับคลุม ขั้นจัดกิจกรรม 1. ผู้เลี้ยงดูเด็กนำส้ม มะม่วง เงาะ ใส่กระจาด แล้วใช้ผ้าคลุมไว้ 2. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาคลำและบอกว่าเป็นผลไม้อะไร


3. และถามว่าผลไม้ชนิดนั้นมีกี่ผล


4. เมื่อคลำจนครบ ผู้เลี้ยงดูเด็กเปิดผ้าคลุมออกให้เด็กบอกชื่อผลไม้ในกระจาดและช่วยกันนับจำนวนผลไม้ 5. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาช่วยกันแยกประเภทผลไม้


การประเมินผล


สังเกต


1. จากการร่วมกิจกรรม


2. จากการสนทนาตอบคำถาม


3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การจับคู่ ถือว่าเป็นกิจกรรมเบื้องต้นของคณิตศาสตร์อีกกิจกรรมหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะของวัตถุหรือรูปภาพ ตั้งแต่เรื่องขนาด รูปทรง สี หรือลักษณะรายละเอียดอื่น ๆ


ตัวอย่างกิจกรรม จับคู้ลูกหมู


จุดประสงค์ เพื่อฝึกจับคู่สิ่งต่าง ๆ ให้เข้าพวกกัน


อุปกรณ์


1. แผ่นผ้ายสำลี


2. ภาพลูกหมู 3 ภาพ 3 สี


3. ภาพบ้าน 3 หลัง (ทำตัวฟาง กิ่งไม้ อิฐ)


ขั้นจัดกิจกรรม


1. เล่าเรื่อง “ลูกหมูสามตัว” ให้เด็กฟัง


2. สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อหาในนิทาน


3. ให้เด็กอาสาสมัครออกมาจับคู่ภาพลูกหมูกับบ้านที่ลูกหมูแต่ละตัวสร้าง


การประเมินผล


สังเกต


1. จากการร่วมกิจกรรม


2. จากกการสนทนาตอบคำถาม


3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การเปรียบเทียบ ต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสิงสิ่งว่ามีลักษณะเฉพาะอย่างไร สิ่งที่สำคัญในการเปรียบเทียบคือ เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้น และรู้จักคำศัพท์ที่จะต้องใช้ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า ใหญ่กว่า เป็นต้น


ตัวอย่างกิจกรรม กระดุมหลากสี


จุดประสงค์ เพื่อฝึกฝนการเปรียบเทียบ (มากกว่าและน้อยกว่า) โดยใช้กระดุม


อุปกรณ์ กระดุมจำหนึ่ง ที่มีสี รูปร่าง และขนาดต่างกัน


ขั้นจัดกิจกรรม


1. หยิบกระดุม 5 เม็ด วางบนโต๊ะ โดยไม่จำเป็นต้องเรียงเป็นแถว


2. ให้เด็กดูพร้อมจำนวนกระดุม


3. ให้เด็กปิดตา แล้วหยิบกระดุมออก 1 เม็ด


4. ให้เด็กลืมตาแล้วบอกจำนวนกระดุมว่ามี “มากกว่า” หรือ “น้อยกว่า” เมื่อเปรียบเทียบกับตอนแรก


5. อาจเปลี่ยนกิจกรรมจากการเปรียบเทียบจำนวนเป็นการเปรียบเทียบขนาดแทน


การประเมินผล


สังเกต


1. จากการร่วมกิจกรรม


2. จากการสนทนาตอบคำถาม


3. จากการค้นหาคำตอบด้วยตนเอง การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ เด็กปฐมวัยมักไม่ค่อยเข้าใจเรื่องการคงที่ของปริมาตรวัตถุ ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือย้ายที่ก็ตาม การอนุรักษ์ปริมาณของวัตถุควรเริ่มที่กิจกรรมการเล่นทราย และน้ำความคิดรวบยอดในเรื่องการอนุรักษ์ก็คือปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม


ตัวอย่างกิจกรรม การอนุรักษ์ปริมาณ


จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ


อุปกรณ์


1. ถ้วยตวงชนิดใส 3-4 ใบ


2. แก้วที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ขั้นจัดกิจกรรม 1. เทน้ำใส่ถ้วยตวงทั้งหมดที่มี ให้มีปริมารน้ำเท่ากันทุกใบ อาจหยดสีผสมอาหารใส่ลงไปด้วย เพื่อให้เด็กมองเห็นระดับน้ำได้ชัดเจน 2. แจกถ้วยตวงพร้อมกับแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ แก่เด็กเป็นคู่ ๆ


3. ให้เด็กเทน้ำจากถ้วยตวงใส่ลงแก้วเปล่ารูปทรงต่าง ๆ


4. ให้เด็กเปรียบเทียบปริมาณน้ำจากแก้วกับถ้วยตวง


5. สนทนาโดยใช้คำถาม “ปริมาณน้ำที่เด็ก ๆ เห็นต่างกันหรือไม่”


6. สรุปเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปริมาณ การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์
การประเมินผลการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์วิธีที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก



คือการสนทนา พูด คุยขณะทำกิจกรรม อีกวิธีหนึ่งคือการสังเกตผลจากการ ประเมิน จะช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก แต่ละคนว่ามีพัฒนาการมากน้อยเพียงใด
ข้อควรคำนึงในการประเมินผล



1. สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


2. เครื่องมือที่ใช้จะต้องมีความเหมาะสมกับ เรื่องการวัดและ เหมาะสมกับวัยของเด็ก


3. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากการประเมินจะต้องตีความได้ง่าย ไม่ ลำเอียง


4. ผลหรือข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือประเมินผลชนิดต่างๆ ควร รวบรวมจากแหล่งข้อมูลหลายๆแหล่ง เช่น ข้อมูลที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก เก็บจากเด็ก จากพ่อแม่และจากผู้มีส่วนร่วมในโรงเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์



กิจกรรมคำคล้องจองเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจัดให้กับเด็กเป็นประจำ อาจจะจัดในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ เป็นต้น ซึ่งคำคล้องจองที่ใช้อาจเป็นโคลง กลอน บทร้อยกรองที่ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มีความยาวไม่มากเกินเพราะหากยาวมากเกินไปเด็กจะเบื่อหน่าย และควรมีสาระง่าย ๆ เมื่อเด็กท่องแล้วเกิดความสนุกสนาน
วัตถุประสงค์ กิจกรรมคำคล้องจองจัดขึ้นเพื่อ

1. ให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสติปัญญา ด้านภาษา

2. เพื่อฝึกความจำ

3. เพื่อให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการท่องคำคล้องจอง

4. เพื่อฝึกระเบียบวินัย

5. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

6. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
การจัดกิจกรรมคำคล้องจองในการสอนคำคล้องจองให้กับเด็ก ควรสอนตามลำดับขั้นโดยเริ่มจากผู้เลี้ยงดูเด็กท่องคำคล้อง จอง ให้เด็กฟังพร้อมทั้งอธิบายความหมาย จากนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กให้เด็กพูดตามทีละวรรคจนจบ บทแล้วให้พูดตามซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่อเด็กจำได้บ้าง แล้วจึงให้พูดพร้อมๆ กับผู้เลี้ยงดูเด็กขณะ ที่พูดคำคล้องจอง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจทำท่าทางประกอบหรือกระตุ้นให้เด็กคิดค่าทางประกอบเพื่อ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก โดยทั่วไป กิจกรรมคำคล้องจองแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิจกรรมคำคล้องจองที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องที่สอน เพราะคำคล้องจองบางบทมีข้อความที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จัดกิจกรรม ซึ่งจะช่วยทำ ให้ เด็กมีความเข้าใจและจดจำเรื่องราวต่างๆได้ เช่น เมื่อผู้เลี้ยงดูเด็กจะให้เด็กดื่มนมในทุกๆ วัน ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้บทคำคล้องจองดื่มนมคำคล้องจอง ดิ่มนม (ไม่ปรากฎผู้แต่ง)
ดื่มนมนั้นดีหนักหนาฉันชอบดื่มนมทุกวันใครยากจะเป็นคนเก่งคุณครูก็รัก ใครใครก็ชม

ช่วยให้กายาของเราเติบโตเพราะช่วยให้ฉันทั้งสวยทั้งโก้ขอเชิญมาแข่งดื่มนมแก้วโตแก้มป่องตากลมเพราะนมแก้วโต
หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการจราจร ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้คำคล้องจองสัญญาณไฟ คำคล้องจอง “สัญญาไฟ”
สัญญาณไฟ จราจร มีสามสีส่วนสีเหลือง ให้เตรียมตัว ไว้คอยดู

สีแดงมีไว้หยุดระ นะหนูหนูสีเขียวรู้ เร่งรับไว้ ไปได้เลย
จากหนังสือคู่มือพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรมและจริยธรรมระดับประถมก่อนศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2545
2. กิจกรรมคำคล้องจองที่ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรือเรื่องที่จัดกิจกรรม ซึ่งเป็นคำคล้องจองที่ต้องการให้เด็กท่องเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อผ่อนคลาย ความตึงเครียดในขณะที่หรือหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เช่นคำคล้องจอง “ตระกร้อของใคร” (อ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
ตะกร้อของใครพอเตะมันก็กลิ้งกระโดดไปตะครุบ ตะกร้อถูกหน้า

มันใหญ่จริงจริงไปโดนตะกร้าหล่นปุ๊บพลาดท่าหกล้มจมโคลน
ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมคำคล้องจอง โดยธรรมชาติ เด็กเกือบทุกคนของเล่นคำ ชอบเล่นจังหวะ ดังนั้นในการเลือกบทคำคล้องจอง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัยเด็ก ควรเลือกบทคำคล้องจองที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ บทคำคล้องจองที่สนุกสนาน บทคำคล้องจองที่เป็นเรื่องราว บทคำคล้องจองที่เล่าเรื่อง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กควรเก็บบทคำคล้องจองเหล่านี้ไว้ใกล้ตัวให้หยิบใช้ได้ง่าย เพราะถ้าเด็กสนุกกับเรื่องที่ฟัง อาจจะอยากอ่านด้วยตนเอง
การประเมินผล ผู้เลี้ยงดูเด็กควรใช้ทักษะการสังเหตว่าเด็กสนใจในการเข้า ร่วมกิจกรรมมีการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นภาษา คำพูดท่าทาง ประกอบ

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก



กิจกรรมการเล่านิทาน คือการเล่าเรื่องต่างๆ โดยใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก หรือแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้เด็กฟัง สนทนา โต้ตอบ อภิปราย ซักถาม
แสดงข้อคิดเห็นและสามารถให้เด็กแสดงท่าทางประกอบ เรื่องราว หรือเล่าประสบการณ์รอบตัว กิจกรรมการเล่านิทานนี้....อาจจัดเป็นกิจกรรมแทรกใน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ในตาราง กิจกรรมประจำวัน หรืออาจแยกออกมาจัดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมและดุลยพินิจของผู้เลี้ยงดูเด็ก
วัตถุประสงค์

1. โดยธรรมชาติเด็กชอบฟังนิทานมาก กิจกรรมการเล่านิทานจึงสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก 2. เพื่อให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์เครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน

3. ยืดช่วงความสนใจ ฝึกสมาธิ ฝึกด้านการฟัง

4. ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์

5. เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย

6. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสังคม

7. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานธรรมชาติของเด็กชอบฟังนิทาน เมื่อเด็กรู้ว่าผู้เลี้ยงดูเด็กจะเล่า นิทาน เด็กจะมีความกระตือรือร้นอยากฟัง ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ดำเนินกิจกรรมการเล่านิทาน จะมีเด็กที่สนใจอยากมีส่วนร่วม โดยอยู่ไม่นิ่ง ไม่นั่งอยู่กับที่ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรสร้างข้อตกลงกับ เด็กก่อนจะเริ่มเล่านิทาน ขณะที่กำลังเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควร จะกระตุ้นเด็กด้วยคำถามเพื่อให้เด็กมีสมาธิมีความตั้งใจฟังเพื่อ เก็บเรื่องราวไว้ตอบคำถามของผู้เลี้ยงดูเด็ก การที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะ
ให้เด็กสนใจฟังผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเลือกนิทานที่สร้างความตื่นเต้น เร้าความ สนใจของเด็ก รวมทั้งรูปแบบในการเล่านิทานซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเลือกใช้ รูปแบบที่เสนอแนะไว้ต่อไปนี้

1. อ่านจากหนังสือนิทานโดยตรง

2. ใช้หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก

3. ใช้แผ่นภาพประกอบหรือใช้ภาพพลิก

4. ใช้แผ่นป้ายผ้าสำลีประกอบ

5. ใช้ท่าทาง สีหน้า แววตา และน้ำเสียงประกอบการเล่า

6. ใช้วาดภาพบนกระดานให้เด็กคอยติดตามเหตุการณ์ของเรื่อง
รูปแบบที่กล่าวนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้รูปแบบที่ถนัดและเหมาะสมกับบุคลิกภาพความ สามารถของตนเองข้อเสนอแนะ การเล่านิทานเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เลี่ยงดูเด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสามารถแตกต่างกัน องค์ประกอบต่างๆ นี้ช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความสามารถในการเล่านิทานมากขึ้น หากผู้เลี้ยงดูเด็กมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ องค์ประกอบต่างๆ คือ
1. เนื้อเรื่อง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกเนื้อเรื่องที่เหมาะสมกับวัย ไม่สั้นหรือ ยาวเกินไป แต่อยู่ในระหว่างช่วงความสนใจของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะ จำเนื้อเรื่องที่เล่าได้ดี

2. เสียง ควรจะให้เด็กทั้งหมดได้ยินอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่จำเป็นต้อง ตะโกน ขณะที่เล่าระดับเสียง และจังหวะพูดต้องถูกต้อง ใส่ความรู้สึกลง ไปด้วย มีระดับเสียงสูง-ต่ำ หากให้ดีผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะทำเสียงต่างๆ ตามลักษณะของตัวละคร เช่น เสียงเด็ก เสียงคนแก่ เสียงผู้ชาย-ผู้หญิง เสียงสัตว์

3. ท่าทาง เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะใช้บ้างเป็นบางโอกาสหรืออาจจะ ใช้ท่าทางเพื่อเป็นภาษาท่าทางให้เด็กคิด และทายว่าผู้เลี้ยงดูเด็กกำลัง แสดงท่าทางอะไร

4. จังหวะ จังหวะของการพูดเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้นิทานน่าสนใจมาก ขึ้น ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรฝึกฝนเรียนรู้จังหวะในการเล่าโดยศึกษาทำความ เข้าใจกับ นิทานเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อนที่จะนำมาเล่า ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจะมองสบตากับเด็กทุกคนขณะที่เล่านิทาน

5. อารมณ์ ในขณะเล่านิทาน ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเล่าให้เด็กเห็นและเข้าใจ ความรู้สึกและอารมณ์ของ ผู้เล่า เช่น อารมณ์ ที่ตื่นเต้น อารมณ์รื่นเริง อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์เศร้า เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้สามารถพัฒนา วุฒิภาวะทางอารมณ์

6. ข้อตกลง ก่อนฟังนิทาน ควรสร้างข้อตกลงกันก่อน เช่น เด็กๆ ควรจะ นั่งอยู่กับที่ขณะผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานไม่พูดแซงขณะที่ฟังนิทาน เป็นต้น แต่การสร้างข้อตกลงนี้ไม่ควรเป็นการบังคับจนเด็กรู้สึกอึดอัด ซึ่งแทนที่ เด็กจะมีความสุขจากการฟังนิทาน กลับกลายเป็นความทุกข์

7. เวลา ในการเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะคำนึงถึงช่วงอายุและความ สนใจของเด็ก อาทิเด็กอายุ 5-6 ปีช่วงความสนใจประมาณ 12-15 นาที ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงไม่ควรใช้เวลาในการเล่านิทานมากเกินไป หรืออาจจะ สังเกตขณะที่กำลังเล่านิทาน หากเด็กส่วนใหญ่เริ่มไม่อยู่นิ่ง ไม่สนใจฟัง ผู้เลี่ยงดูเด็กควรจะหยุดการเล่า และให้เด็กเปลี่ยนกิจกรรมอื่นต่อไป

8. สถานที่ ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ สงบ สบาย สะอาด ผู้ดูแลเด็กอาจพา เด็กไปนั่งฟังนะทานใต้ต้นไม้ใหญ่ภายในบริเวณศูนย์ ให้เด็กนั่งสบายๆ ไม่บังคับให้เด็กนั่งตามที่ผู้เลี้ยงดูเด็กอยากให้นั่ง

9. การเลือกนิทาน นิทานมีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะสมกับ ความต้องการและธรรมชาติของเด็กด้วย
ในการเลือกนิทานควรจะพิจารณาจาก - วัยของเด็ก ว่าเด็กมีความสนใจชอบฟังนิทานประเภทใด ความยาวของนิทานควรเหมาะสมกับช่วงความสนใจ- เนื้อหาสาระ พิจารณาว่าสอดแทรกข้อคิดปลูกฝังคุณธรรม และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดโดยคำนึง ลักษณะของตัวละครว่า มีลักษณะและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเด็ก ประเภทของนิทานที่ไม่ควรนำมาเล่าให้เด็กฟัง เช่น ที่มีความยาว เดินเรื่องช้า มีรายละเอียดมาก นิทานที่น่ากลัว หรือมีการเทศนาสั่งสอนมากเกินไป หรือนิทานที่แฝงด้วยปรัชญา ความคิดที่ยาวเกินไปสำหรับเด็ก - รูปภาพประกอบ พิจารณาว่ารูปภาพประกอบในนิทานมีสีสันสวยงาม มีขนาดพอ เหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ภาพชัดเจน
การประเมินผล ในการประเมินผลผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะสังเกตว่า เด็กมีความสน ใจติดตามเรื่องตลอดหรือไม่ มีการตอบสนองหรือไม่ เช่น เด็ก สนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีการสนทนา ซักถามแสดงข้อคิดเห็น กล้าแสดงออก ร่วมทั้งเด็กเข้าใจภาษาที่ใช้เล่าหรือไม่

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก



กิจกรรมเพลงเพลงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเปิดโอกาสให้เด็ก เพลิดเพลินต่อการฟังเพลงหรือร้องเพลงหากในระยะแรกๆเด็กยัง ไม่พร้อมที่จะร้องเพลงสนใจเพียงการฟังเพลงก็ควรเปิดโอกาสให้ เด็กได้ฟัง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะร้องหรือเปิดเพลงจากวิทยุ จากเทป ให้เด็กฟังหรือร้อง รวมทั้งแสดงท่าทางประกอบไปตามจังหวะของ เพลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้บริหารร่างกายตามธรรมชาติ ได้พักผ่อน อารมณ์หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพลงที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาใช้สอน เด็กควรให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
วัตถุประสงค์ กิจกรรมเพลงจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ


1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาเรียน


2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้จากบทเรียนโดยไม่รู้ตัว


3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์


4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมที่เด็กมีโอกาสเข้ากับผู้อื่นและร่วมงานกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น เกิดความสามัคคี


5. เพื่อให้เด็กมีความคิดริเริ่ม จินตนาการในการแสดงท่าทางประกอบ


6. เพื่อกล่อมเกลาให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน


7. เพื่อปลูกฝังนิสัยและพื้นฐานทางนาฎศิลป์และดนตรีเบื้องต้นให้แก่เด็ก
ลักษณะเพลงที่เหมาะสมกับเด็ก


1. มีเนื้อร้องง่าย ๆ ใช้คำง่าย ๆ เพื่อให้เด็กฟังแล้วเข้าใจในเนื้อเพลงได้


2. เนื้อเพลงนั้นพอสมควร ไม่ยาวเกินไป เพราะเด็กจำยากและเบื่อหน่ายในการเรียนถ้าเป็นเนื้อเพลงยาวๆ ควรเป็นเนื้อร้องที่ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องให้เด็กฟังแล้วเข้าใจความหมายในเนื้อเพลงก็พอ เนื้อเพลงควรเกี่ยวกับความรู้สำหรับเด็กและมีการสอดแทรกคุณธรรม


3. มีทำนองและระดับเสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพราะเด็กส่วนมากไม่สามารถทำเสียงต่ำมาก ๆ ได้ เพราะเสียงจะหายไปในลำคอ ยากแก่การร้อง ถ้าเสียงสูงมาก ๆ เด็กก็ไม่สามารถร้องได้ เด็กชอบร้องเพลงที่มีทำนองไม่ช้าหรือเร็วมากเกินไป


4. สามารถแสดงท่าทางประกอบได้ง่าย เพราะการสอนเพลงให้เด็กไม่ได้มุ่งแต่จะให้ร้องเพลงได้อย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะและแสดงท่าทางประกอบด้วย
ข้อเสนอแนะในการสอนเพลง


1. เลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ มีเนื้อร้องสั้น ๆ


2. ก่อนสอนเพลงผู้เลี้ยงดูเด็กควรนำภาพ หรือของจริงที่เกี่ยวกับ เนื้อเพลงมาให้ดู


3. ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องเพลงให้เด็กฟัง


4. สอนให้เด็กว่าตามเนื้อเพลงทีละวรรค


5. ให้เด็กร้องพร้อมผู้เลี้ยงดูเด็ก 1-2 เที่ยว


6. ให้เด็กร้องเพลงพร้อมกัน


7. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งร้องเพลง อีกกลุ่มทำจังหวะด้วย
การตบมือหรือกำจังหวะด้วยเครื่องเคาะจังหวะ


8. หมุนเวียนให้เด็กสลับสับเปลี่ยนกันร้องรำจนครบทุกคน และเปิดโอกาสให้เด็กคิดท่าทาง ตามความคิดจินตนาการของเด็กเอง


9. ให้โอกาสเด็กได้ร้องเดี่ยวหรือแสดงเดี่ยวบ้าง

ตัวอย่างงานวิจัยคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก

ความเป็นมา
- การพัฒนาคนเป็นจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยเฉพาะเด็กซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคน เพราะเด็กคืออนาคตของครอบครัว ของชุมชนและของประเทศชาติ ความหวังของประเทศชาติขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็กที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้พัฒนาประเทศต่อไป เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาทั้งร่างกาย สติปัญญา สังคม และบุคลิกภาพ ประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงนี้มีอิทธิพลมากต่อการเสริมสร้างพื้นฐานความพร้อมสำหรับพัฒนาขั้นต่อไป การวางรากฐานที่ดีของชีวิตต้องวางที่ตัวทรัพยากรบุคคล ที่ส่งผลกระทบที่ดีในระยะยาวมากกว่าการปลูกฝังสร้างเสริมในช่วงอื่นของชีวิต
ช่วงอายุที่ปูพื้นฐานได้ดีที่สุดคือวัยต่ำกว่า 6 ขวบเป็นช่วงที่มีการพัฒนาสติปัญญาสูง การจัดการศึกษาให้เด็กในวัยนี้จึงเป็นการเตรียมเด็กให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีพร้อมจะเป็นพลเมืองที่ชาติต้องการ แก้ปัญหาของชาติบ้านเมืองได้ เด็กในช่วงปฐมวัยเหมาะสมในการวางรากฐานและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ เด็กทุกคนจะต้องได้รับการสนองตอบขั้นพื้นฐานเพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปในทุกด้านให้บรรลุถึงศักยภาพของความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีประโยชน์ต่อตนเองและสังคม หากมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็กซึ่งสามารถเรียนอะไรก็ได้เมื่อมีความพร้อมและความสำเร็จในชีวิตของเด็กขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมเป็นสำคัญ การจัดการเรียนให้ตรงกับสติปัญญาของเด็กจะช่วยให้เด็กที่เสียเปรียบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเสริมสร้างพัฒนาการด้านลักษณะนิสัยและสังคมนิสัย และลดการซ้ำชั้นในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ถ้าให้เด็กเรียนโดยที่ยังไม่มีความพร้อมนอกจากจะไม่ประสบผลสำเร็จแล้วอาจทำให้เด็กเกลียดโรงเรียน กลัวครู เบื่อหน่าย เฉื่อยชา ขาดความสนใจในการเรียน แบบฝึกความพร้อมเป็นสื่อที่ครู ผู้ปกครองนิยมใช้กันมากเพราะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการและเตรียมความพร้อมให้กับเด็กโดยเฉพาะ การให้เด็กทำแบบฝึกหัดจะช่วยเพิ่มแรงกระตุ้นและช่วยปลูกฝังและส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีนิสัยใฝ่ศึกษาอย่างมีระบบและเป็นข้อมูลย้อนกลับให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะแสดงถึงจุดเด่นจุดด้อยของแต่ละบุคคลในเนื้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะการฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นวิชาที่เป็นนามธรรมเข้าใจยากจึงจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะมาก เพื่อที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์อยู่ตลอดเวลา คณิตศาสตร์จึงเป็นประสบการณ์ที่ต้องจัดให้กับเด็ก ความสามารถของเด็กในวิชาคณิตศาสตร์ยังไม่อาจเทียบกับมาตรฐานการเรียนรู้ของชาติอื่นได้ การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กก่อนวัยเรียนจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่น่าจะได้ผลดี นอกจากนี้แบบฝึกยังมีลักษณะรูปแบบที่สะดวกต่อการใช้สามารถนำติดตัวเพื่อใช้ในการฝึกทักษะได้ และสะดวกในการจัดหา มีพิมพ์จำหน่ายเป็นจำนวนมากตามร้านหนังสือทั่วไปและได้รับความสนใจมากจากครูและผู้ปกครอง
จากเหตุผลดังกล่าวจึงสนใจที่จะศึกษาวิเคราะห์รูปลักษณ์แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนเนื้อหาของแบบฝึกที่พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2530-2538 และเปรียบเทียบกับเกณฑ์ของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อครู ผู้ปกครอง ผู้แต่งและสำนักพิมพ์
แนวคิดทฤษฎี
-
วัตถุประสงค์
1. เพื่อวิเคราะห์รูปลักษณ์และเนื้อหาของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2530 ถึง 2538
2. เพื่อเปรียบเทียบแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2530 ถึง 2538 กับเกณฑ์แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
สมมุติฐานการวิจัย

-
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากร เป็นแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนที่พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2530-2538 จำนวน 220 เล่ม
กลุ่มตัวอย่าง เป็นแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 159 เล่ม โดยพิจารณาตามรายชื่อและเกณฑ์การเลือกกลุ่มตัวอย่าง
1. เป็นหนังสือสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนที่พิมพ์เป็นภาษาไทย
2. พิมพ์จำหน่ายระหว่างปีพุทธศักราช 2530 ถึง 2538 โดยระบุชื่อสำนักพิมพ์ที่ชัดเจน
3. เป็นแบบฝึกเด็กให้พร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การคัดเลือกข้อใดข้อหนึ่งดังนี้
3.1 ในคำนำของหนังสือมีข้อความบอกว่าเป็นหนังสือเพื่อเตรียมความพร้อมหรือปูพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กวัยก่อนเรียน หรือ
3.2 พิจารณาจากเนื้อหาในหนังสือและคัดเลือกเฉพาะที่เป็นแบบฝึก เพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
- 1 แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง แบบฝึกที่เตรียมเด็กให้พร้อมในการเรียนคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นหนังสือที่พิมพ์ โดยโรงพิมพ์ของหน่วยงานรัฐบาลที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาก่อนภาคบังคับ หรือพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เอกชน จุดประสงค์ของหนังสือเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการเรียนหรือประสบการณ์ทางการเรียน ด้านทักษะเบื้องต้นทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
2 เกณฑ์ของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน หมายถึง เกณฑ์ของ แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ด้านรูปลักษณ์และเกณฑ์ของแบบฝึกความพร้อมด้านเนื้อหา
3 รูปลักษณ์ของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ข้อมูลทั่วไปของแบบฝึก การจัด รูปเล่ม ตัวอักษรที่ใช้ ภาพประกอบที่ใช้ และการนำเสนอเนื้อหาแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์
4 เนื้อหาของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สิ่งที่แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนได้เสนอให้กับเด็ก ซึ่งปรากฏอยู่ในวัตถุประสงค์ของผู้แต่งและกิจกรรม ที่ใช้ฝึกในแต่ละครั้งหรือแต่ละตอน
5 เด็กก่อนวัยเรียน หมายถึง เด็กวัย 2 ถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่กำลังเรียนอยู่ในระดับอนุบาล ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเตรียมความพร้อมทางการเรียนก่อนจะเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- แบบสอบถามโดยการตรวจสอบและการเติมคำ และตารางวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทาง คณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ค่าร้อยละ
สรุปผลวิจัย
- ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนปรากฏผลดังนี้
1.1 ด้านรูปลักษณ์
1.1.1 ข้อมูลทั่วไป แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่ จัดพิมพ์เป็นชุดโดยสำนักพิมพ์เอกชน ผู้แต่งเป็นคณะ ราคาตั้งแต่ 6 ถึง 48 บาท
1.1.2 การจัดรูปเล่ม แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนส่วนใหญ่มีรูปเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ขนาด 8 หน้ายก จำนวน 32 หน้าขึ้นไป เย็บเล่มโดยวิธีเย็บอก หน้าปกเป็นกระดาษอาร์ตเคลือบสารเคมี ภาพหน้าปกเป็นภาพวาดการ์ตูนสี่สี
1.1.3 ตัวอักษร ส่วนใหญ่เป็นสีดำ ขนาด 24-48 ปอยท์ พื้นหลังตัวอักษร เป็นสีขาว
1.1.4 ภาพประกอบ ส่วนใหญ่เป็นภาพวาดการ์ตูน ใช้กระดาษปอนด์ในการพิมพ์เนื้อหา
1.1.5 นำเสนอเนื้อหา แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนทุกเล่มมีชื่อของแบบฝึกหรือมีจุดมุ่งหมายของผู้แต่งสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเล่ม เนื้อหามีความสัมพันธ์กับเนื้อหาในแบบฝึกทักษะเบื้องต้นทางคณิตศาสตร์ตามแนวการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีภาพประกอบเหมาะสมกับคำสั่ง ลักษณะของคำสั่งเป็นการให้ทำเครื่องหมายตามคำสั่ง
2. เมื่อเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ปรากฏผลดังนี้
2.1 ด้านรูปลักษณ์ของแบบฝึกความพร้อม ส่วนใหญ่จะสอดคล้องกับเกณฑ์ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คือ มีการจัดพิมพ์เป็นชุด รูปเล่มสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ขนาด 8 หน้ายก เย็บเล่มโดยวิธีเย็บอก หน้าปกเป็นกระดาษอาร์ต ภาพปกเป็นภาพวาดการ์ตูนสี่สี ตัวอักษรสีดำ ขนาด 24-48 ปอยท์ พื้นหลังตัวอักษรเป็นสีขาว ภาพประกอบเป็นภาพวาดการ์ตูน มีชื่อของแบบฝึกหรือจุดมุ่งหมายของผู้แต่งสอดคล้องกับเนื้อหาภายในเล่ม เนื้อหามีความสัมพันธ์กับเนื้อหาของการฝึกทักษะเบื้องต้นทางคณิตศาสตร์ตามแผนการจัดประสบการณ์ชั้นอนุบาล ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ มีภาพประกอบเหมาะสมกับคำสั่ง ลักษณะของคำสั่งเป็นการให้ทำเครื่องหมายตามคำสั่ง ด้านรูปลักษณ์ของแบบฝึกความพร้อมที่ไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คือ หน้าปกที่เคลือบด้วยสารเคมี จำนวนหน้าที่มากกว่า 32 หน้า และการใช้กระดาษปอนด์พิมพ์เนื้อหาภายในเล่ม
2.2 ด้านเนื้อหา เนื้อหาแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียนมีความสอดคล้องกับเกณฑ์ ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ที่พบมาก คือ เนื้อหาในการฝึกความเข้าใจความหมายของตัวเลข จำนวน การบวก การลบและสัญลักษณ์ต่าง ๆ และการฝึกใช้ประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ ซึ่งมีถึง ร้อยละ 81.27 และร้อยละ 72.45 ตามลำดับ และที่พบน้อย คือ เนื้อหาในการฝึก ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดชั่งตวงและคาดคะเนซึ่งมีเพียง ร้อยละ 4.41
ข้อเสนอแนะ

- 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 สำนักพิมพ์และผู้แต่งควรจะผลิตหนังสือ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของพัฒนาการและความต้องการของเด็กมากกว่าจะคำนึงถึงความต้องการของผู้ใหญ่
1.2 สำนักพิมพ์และผู้แต่งควรผลิตแบบฝึกสำหรับเด็ก ซึ่งเป็นแบบฝึกที่เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง
1.3 ผู้แต่งควรจะนำเสนอเนื้อหาในลักษณะที่ให้อิสระให้เด็กได้ฝึกคิด ได้ค้นหา
1.4 ผู้แต่งควรจะนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจ ของเด็กมากกว่านำเสนอในรูปของแบบฝึกหัดที่ประกอบแบบเรียน
1.5 สำนักพิมพ์ควรจะรักษาคุณภาพในด้านต่าง ๆ ของการผลิต
1.6 ครูและผู้ปกครองควรศึกษาคำอธิบายวิธีใช้แบบฝึกให้เกิดความเข้าใจตรงกันกับจุดมุ่งหมายของผู้แต่ง
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการวิเคราะห์กลวิธีในการเขียนแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ในเรื่องการจัดลำดับเนื้อหา วิธีการนำเสนอเนื้อ
2.2 ควรมีการพัฒนาแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กก่อนวัยเรียน ในด้านรูปลักษณ์ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอเนื้อหา

บทความคณิตศาสตร์





เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ เคล็ดลับสำหรับเด็กเกลียดเลข

คอลัมน์....โรงเรียนในฝัน วันจันทร์ ที่ 29 สิงหาคม 2548 สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) นำทีมโดย ศ.ดร.ศรียา นิยมธรรม รองประธานสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์” ขึ้น ณ ห้องประชุมสำนักหอสมุดกลาง ชั้น 8 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
งานนี้สืบเนื่องมาจากสัปดาห์ที่มีการคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ว่าเด็กแต่ละคนมีความบกพร่องทางด้านใด เมื่อได้แล้วก็เข้าสู่กระบวนการช่วยเหลือ ซึ่งทางสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษและความต้องการพิเศษแห่งชาติ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ให้แก่ครูผู้สอน นางสาวพัชรินทร์ เสรี นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บอกว่างานในช่วงเช้าของวันที่ 29 สิงหาคม 2548 จะมีการบรรยายเรื่อง “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้”ในช่วงบ่ายจะเข้าสู่การบรรยายเทคนิควิธีการสอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ “เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านคณิตศาสตร์ ความรู้ด้านคณิตศาสตร์จะไม่ได้ตามวัยของเด็ก อย่างเช่นการบวก ลบ คูณ หาร จำนวนต่างๆ เด็กจะไม่รู้ตามวัยที่ควรจะรู้” ส่วนเทคนิคที่จะนำมาสาธิตให้ครูที่เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้เรียนรู้ มีทั้งสิ้น 6 วิธีซึ่งใช้ได้ผลในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1.ใช้การละเล่นพื้นบ้าน ใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านมาสอนเด็ก ซึ่งจะสอนเรื่องการเปรียบเทียบ การวัดระยะทาง การบวกลบคูณหาร

2.สอนเทคนิคการอ่านโจทย์เลข เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้จะอ่านโจทย์เลขไม่ได้ ซึ่งจะอ่านไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าโจทย์ถามอะไร หมายความอย่างไร เมื่ออ่านโจทย์ไม่ได้ก็จะส่งผลถึงการคิดเลขด้วย ซึ่งเราจะใช้วิธีการทางกราฟิกเข้ามาช่วยในการอ่านโจทย์ปัญหา

3.ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เน้นคำถามเชิงเปรียบเทียบและคำถามเชิงเหตุผลแต่ใช้ศิลปะเข้ามาช่วย เราอาจจะสอนเด็กด้วยการปั้นหุ่นยนต์ซึ่งอาจจะมีอุปกรณ์เป็นดินน้ำมันหรือแป้งโด กระดาษ จากนั้นคุณครูอาจบอกว่า มีแป้งโดกับกระดาษ และถ้านำของสองสิ่งนี้ไปวางที่ประตูแล้วมีลมพัดมา นักเรียนคิดว่าระหว่างแป้งโดกับกระดาษอะไรจะปลิวไป นักเรียนที่มีปัญหาด้านความบกพร่องทางการเรียนรู้จะเปรียบเทียบไม่ได้ว่าอะไรหนักหรือเบากว่ากัน ลักษณะการสอนเช่นนี้เป็นการสอนเปรียบเทียบและต้องสอนต่อว่าถ้ากระดาษปลิวเพราะอะไร

4.การอ่านการ์ตูน เราต้องทำเป็นเรื่องราวสอนเกี่ยวกับตัวเลข บวก ลบ คูณหารเด็กจะสนุกกับภาพการ์ตูนและจะเรียนรู้ได้มากขึ้น

5.การเล่นบทบาทสมมติ อาจจะให้เด็กนักเรียนในชั้นออกมานับหนังสือ 20 เล่ม จากนั้นให้เพื่อนออกมาหน้าชั้นเรียนอีก 5 คน นักเรียนคิดว่าจะได้คนละกี่เล่ม จากนั้นเด็กก็จะเริ่มแจกจนหนังสือหมด แล้วเด็กจะได้คำตอบเป็นการสอนเรื่องการหาร

6.เกม ซึ่งจะใช้เกมเศรษฐีและการทอยลูกเต๋า เป็นการสอนเรื่องตัวเลข เด็กจะรู้ว่าแต้มไหนมากกว่าแต้มไหนน้อยกว่า การสอนวิชาการเพียงอย่างเดียวจะใช้ไม่ได้ผลกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะชอบความสนุกต้องออกแบบการเรียนการสอนที่เน้นทั้งการเรียนและการเล่นให้อยู่ด้วยกัน การเรียนลักษณะนี้เป็นรูปธรรมชัดเจน เด็กจะเข้าใจง่ายเรียนรู้ได้เร็ว สิ่งที่น่าห่วงก็คือ ครูไทยบางคนไม่ชอบการปรับการเรียนการสอน บางคนติดอยู่กับขั้นตอนมากเกินไป และจะไม่สนุกในการทำกิจกรรมกับเด็กแต่ถ้าเป็นครูที่เข้าใจและสอนไปเล่นไปก็จะสอนเด็กกลุ่มนี้ได้ดี "ณ ปัจจุบันนี้คิดว่าพอจะมีครูที่เข้าใจเด็กและสอนด้วยความเข้าใจว่าเด็กมีความหลากหลาย ต้องปรับวิธีการสอนให้หลากหลายมากขึ้น คิดว่ามีมากขึ้นกว่าในอดีต และวิธีการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ครูไทยควรจะได้เรียนรู้เพื่อปรับใช้ในการสอนต่อไป”
โดย ทีมวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)
ที่มาผู้จัดการออนไลน์ วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2548



บทความคณิตศาสตร์







ความคิดของนักคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจ

จากที่กล่าวมาแล้วว่า จุดเริ่มต้นของคณิตศาสตร์มาจากการนับ ราวประมาณ 2000 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวบาลิโลเนียได้เริ่มพัฒนาความคิดทางคณิตศาสตร์ มีการนับตัวเลข การแบ่งหน่วย มีลักษณะเป็นเลขจำนวนเต็ม และแบ่งส่วนย่อยมีฐาน 60 ดังที่ใช้มาในเรื่องเวลาจนถึงปัจจุบัน การคิดคำนวณเกี่ยวกับตัวเลขที่รู้จักกันดีคือ ทฤษฎีบทพีธากอรัส ที่รู้จักและรวบรวมพิสูจน์โดยพีธากอรัส ก็มีการคิดคำนวณกันมาประมาณ 1700 ก่อนคริสตกาล แล้ว ในช่วงเวลานั้นชาวบาบิโลเนียก็รู้จักวิธีการแก้สมการเชิงเส้น และสมการกำลังสอง ซึ่งเป็นต้นแบบสำหรับวิชาพีชคณิตในเวลาต่อมา
ชาวกรีกมีการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเรขาคณิต โดยเฉพาะการหาขนาดพื้นที่และปริมาตรของรูปทรงเรขาคณิต และผลที่น่าสนใจคือ การคำนวณหาค่าของ ชาวกรีกยังรับเอาวิทยาการต่าง ๆ ของยุคบาบิโลเนีย จนถึงยุคกรีกในช่วงเวลาประมาณ 450 ก่อนคริสตกาล
ชาวกรีกโบราณได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรูปตัดกรวย เป็นผลของการศึกษาที่เกี่ยวโยง เพื่อการค้นคว้าทางดาราศาสตร์ และทำให้เกิดวิชาตรีโกณมิติ ขณะที่วิทยาการทางคณิตศาสตร์ที่กรีก กำลังรุ่งเรือง ประเทศในกลุ่มอิสลามซึ่งได้แก่ อิหร่าน ซีเรีย และอินเดีย ก็มีการพัฒนาและศึกษาวิชาการทางด้านคณิตศาสตร์ ต่อจากนั้นวิทยาการทางด้านคณิตศาสตร์ก็แพร่กลับไปยังยุโรป ทำให้มีการพัฒนาการต่อเนื่องไปศตวรรษที่สิบแปด
วิทยาการทางคณิตศาสตร์ในยุโรป เริ่มขึ้นในราวศตวรรษที่ 16 ซึ่งในช่วงนั้นมีนักคณิตศาสตร์หลายคนที่ทำการศึกษาค้นคว้าทางพีชคณิต และต่อเนื่องมากในหลักการทางแคลคูลัส
ระหว่างศตวรรษที่ 17 ความก้าวหน้าทางคณิตศาสตร์ไปในทางที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยเน้นไปในทางเรขาคณิตและแคลคูลัส เพื่อให้เห็นแนวคิดที่สำคัญของการพัฒนาที่สำคัญเกี่ยวข้องกับนักคณิตศาสตร์ผู้ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญต่อแนวคิด

สิ่งที่ได้จากการเรียน(วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2550)





วันนี้อาจารย์ให้นำโครงการวิจัยมาส่ง โดยทำตามแบบที่ถูกต้อง บางอย่างไม่ถูกต้องให้นำไปแก้ใหม่แล้วมาส่งในวันพุธ วันนี้เรียนที่โรงเรียนสาธิตอนุบาลจันทรเกษมจึงไม่มีเครื่องส่งจึงมาส่งอีกครั้งในวันนี้ค่ะ








วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียน(11 ธ.ค. 2550)


วันนี้เครื่องไม่ค่อยดีเลยติดๆดับๆ อาจารย์สอนการทำโครงการวิจัย โดยบอกขั้นตอนการทำการเขียน และให้บอกความหมายของการคิดเชิงอนุรักษ์

การคิดเชิงอนุรักษ์ คือ การที่เด็กใช้เหตุผลในการอธิบายสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นได้ แม้ว่าสิ่งๆนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไป (แต่ปริมาณเท่าเดิม)เด็กสามารถตอบได้อย่างมีเหตุผล จากประสบการณ์ที่ผ่านมา

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เพลงทางคณิตศาสตร์




เพลงนับดี ดี


เร็วเข้าซีเร็วเข้าซี นับดีดี นับให้ดังๆ

นกฝูกหนึ่งมากมายเสียจัง นับดังๆ นับให้ดีดี 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10


ผู้แต่ง ชื่อ นางสาว หัสญา คำเหล็ก
ชื่อเล่น อิ๋น เกิดวันที่ 11 เมษายน 2529

สิ่งที่ได้จากการเรียน (3 ธ.ค. 2550)



วันนี้เรียนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนากระบวนการคิด และเรียนเกี่ยวกับการคิดเชิงอนุรักษ์ อาจารย์ให้หานิทาน และ เพลง หรือคำคล้องจองทางคณิตศาสตร์มาส่ง ไม่ให้แต่งเองแล้วเพราะถ้าแต่งเองมันจะไม่ค่อยเข้ากับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์สักเท่าไหร่ เลยต้องหาเอาน่าจะดีกว่า และให้เสนอโครงการวิจัย

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตารางกิจกรรมประจำวัน











ตารางกิจวัตรประจำวันของสาธิตอนุบาลจันทรเกษมแบบเป็นทางการ

7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล

8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ

8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ

8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า

10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม

10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม

11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน

12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน

14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า

14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย

14.40-15.00 น. เกมการศึกษา