วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก



กิจกรรมการเล่านิทาน คือการเล่าเรื่องต่างๆ โดยใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก หรือแสดงท่าทางประกอบการเล่าเรื่องเพื่อให้เด็กฟัง สนทนา โต้ตอบ อภิปราย ซักถาม
แสดงข้อคิดเห็นและสามารถให้เด็กแสดงท่าทางประกอบ เรื่องราว หรือเล่าประสบการณ์รอบตัว กิจกรรมการเล่านิทานนี้....อาจจัดเป็นกิจกรรมแทรกใน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ในตาราง กิจกรรมประจำวัน หรืออาจแยกออกมาจัดโดยเฉพาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความ เหมาะสมและดุลยพินิจของผู้เลี้ยงดูเด็ก
วัตถุประสงค์

1. โดยธรรมชาติเด็กชอบฟังนิทานมาก กิจกรรมการเล่านิทานจึงสนองความต้องการทางธรรมชาติของเด็ก 2. เพื่อให้เด็กผ่อนคลายอารมณ์เครียด สนุกสนาน เพลิดเพลิน

3. ยืดช่วงความสนใจ ฝึกสมาธิ ฝึกด้านการฟัง

4. ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่พึงประสงค์

5. เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย

6. เพื่อส่งเสริมทักษะด้านสังคม

7. เพื่อส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานธรรมชาติของเด็กชอบฟังนิทาน เมื่อเด็กรู้ว่าผู้เลี้ยงดูเด็กจะเล่า นิทาน เด็กจะมีความกระตือรือร้นอยากฟัง ในขณะที่ผู้เลี้ยงดูเด็ก ดำเนินกิจกรรมการเล่านิทาน จะมีเด็กที่สนใจอยากมีส่วนร่วม โดยอยู่ไม่นิ่ง ไม่นั่งอยู่กับที่ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรสร้างข้อตกลงกับ เด็กก่อนจะเริ่มเล่านิทาน ขณะที่กำลังเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควร จะกระตุ้นเด็กด้วยคำถามเพื่อให้เด็กมีสมาธิมีความตั้งใจฟังเพื่อ เก็บเรื่องราวไว้ตอบคำถามของผู้เลี้ยงดูเด็ก การที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะ
ให้เด็กสนใจฟังผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเลือกนิทานที่สร้างความตื่นเต้น เร้าความ สนใจของเด็ก รวมทั้งรูปแบบในการเล่านิทานซึ่งผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะเลือกใช้ รูปแบบที่เสนอแนะไว้ต่อไปนี้

1. อ่านจากหนังสือนิทานโดยตรง

2. ใช้หุ่นต่างๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุง หุ่นนิ้วมือ หุ่นชัก

3. ใช้แผ่นภาพประกอบหรือใช้ภาพพลิก

4. ใช้แผ่นป้ายผ้าสำลีประกอบ

5. ใช้ท่าทาง สีหน้า แววตา และน้ำเสียงประกอบการเล่า

6. ใช้วาดภาพบนกระดานให้เด็กคอยติดตามเหตุการณ์ของเรื่อง
รูปแบบที่กล่าวนี้ ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกใช้รูปแบบที่ถนัดและเหมาะสมกับบุคลิกภาพความ สามารถของตนเองข้อเสนอแนะ การเล่านิทานเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ผู้เลี่ยงดูเด็กแต่ละคนมีความถนัด ความสามารถแตกต่างกัน องค์ประกอบต่างๆ นี้ช่วยให้ผู้เลี้ยงดูเด็กมีความสามารถในการเล่านิทานมากขึ้น หากผู้เลี้ยงดูเด็กมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ องค์ประกอบต่างๆ คือ
1. เนื้อเรื่อง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเลือกเนื้อเรื่องที่เหมาะสมกับวัย ไม่สั้นหรือ ยาวเกินไป แต่อยู่ในระหว่างช่วงความสนใจของเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะ จำเนื้อเรื่องที่เล่าได้ดี

2. เสียง ควรจะให้เด็กทั้งหมดได้ยินอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่จำเป็นต้อง ตะโกน ขณะที่เล่าระดับเสียง และจังหวะพูดต้องถูกต้อง ใส่ความรู้สึกลง ไปด้วย มีระดับเสียงสูง-ต่ำ หากให้ดีผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะทำเสียงต่างๆ ตามลักษณะของตัวละคร เช่น เสียงเด็ก เสียงคนแก่ เสียงผู้ชาย-ผู้หญิง เสียงสัตว์

3. ท่าทาง เป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะใช้บ้างเป็นบางโอกาสหรืออาจจะ ใช้ท่าทางเพื่อเป็นภาษาท่าทางให้เด็กคิด และทายว่าผู้เลี้ยงดูเด็กกำลัง แสดงท่าทางอะไร

4. จังหวะ จังหวะของการพูดเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้นิทานน่าสนใจมาก ขึ้น ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรฝึกฝนเรียนรู้จังหวะในการเล่าโดยศึกษาทำความ เข้าใจกับ นิทานเรื่องนั้นเป็นอย่างดีเสียก่อนที่จะนำมาเล่า ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจะมองสบตากับเด็กทุกคนขณะที่เล่านิทาน

5. อารมณ์ ในขณะเล่านิทาน ผู้เลี้ยงดูเด็กควรเล่าให้เด็กเห็นและเข้าใจ ความรู้สึกและอารมณ์ของ ผู้เล่า เช่น อารมณ์ ที่ตื่นเต้น อารมณ์รื่นเริง อารมณ์โกรธ หรืออารมณ์เศร้า เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้สามารถพัฒนา วุฒิภาวะทางอารมณ์

6. ข้อตกลง ก่อนฟังนิทาน ควรสร้างข้อตกลงกันก่อน เช่น เด็กๆ ควรจะ นั่งอยู่กับที่ขณะผู้เลี้ยงดูเด็กเล่านิทานไม่พูดแซงขณะที่ฟังนิทาน เป็นต้น แต่การสร้างข้อตกลงนี้ไม่ควรเป็นการบังคับจนเด็กรู้สึกอึดอัด ซึ่งแทนที่ เด็กจะมีความสุขจากการฟังนิทาน กลับกลายเป็นความทุกข์

7. เวลา ในการเล่านิทานผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะคำนึงถึงช่วงอายุและความ สนใจของเด็ก อาทิเด็กอายุ 5-6 ปีช่วงความสนใจประมาณ 12-15 นาที ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงไม่ควรใช้เวลาในการเล่านิทานมากเกินไป หรืออาจจะ สังเกตขณะที่กำลังเล่านิทาน หากเด็กส่วนใหญ่เริ่มไม่อยู่นิ่ง ไม่สนใจฟัง ผู้เลี่ยงดูเด็กควรจะหยุดการเล่า และให้เด็กเปลี่ยนกิจกรรมอื่นต่อไป

8. สถานที่ ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ สงบ สบาย สะอาด ผู้ดูแลเด็กอาจพา เด็กไปนั่งฟังนะทานใต้ต้นไม้ใหญ่ภายในบริเวณศูนย์ ให้เด็กนั่งสบายๆ ไม่บังคับให้เด็กนั่งตามที่ผู้เลี้ยงดูเด็กอยากให้นั่ง

9. การเลือกนิทาน นิทานมีหลายประเภท ควรเลือกให้เหมาะสมกับ ความต้องการและธรรมชาติของเด็กด้วย
ในการเลือกนิทานควรจะพิจารณาจาก - วัยของเด็ก ว่าเด็กมีความสนใจชอบฟังนิทานประเภทใด ความยาวของนิทานควรเหมาะสมกับช่วงความสนใจ- เนื้อหาสาระ พิจารณาว่าสอดแทรกข้อคิดปลูกฝังคุณธรรม และมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดโดยคำนึง ลักษณะของตัวละครว่า มีลักษณะและพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเด็ก ประเภทของนิทานที่ไม่ควรนำมาเล่าให้เด็กฟัง เช่น ที่มีความยาว เดินเรื่องช้า มีรายละเอียดมาก นิทานที่น่ากลัว หรือมีการเทศนาสั่งสอนมากเกินไป หรือนิทานที่แฝงด้วยปรัชญา ความคิดที่ยาวเกินไปสำหรับเด็ก - รูปภาพประกอบ พิจารณาว่ารูปภาพประกอบในนิทานมีสีสันสวยงาม มีขนาดพอ เหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ภาพชัดเจน
การประเมินผล ในการประเมินผลผู้เลี้ยงดูเด็กควรจะสังเกตว่า เด็กมีความสน ใจติดตามเรื่องตลอดหรือไม่ มีการตอบสนองหรือไม่ เช่น เด็ก สนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีการสนทนา ซักถามแสดงข้อคิดเห็น กล้าแสดงออก ร่วมทั้งเด็กเข้าใจภาษาที่ใช้เล่าหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น: