วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก



กิจกรรมเพลงเพลงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ ผู้เลี้ยงดูเด็กจึงควรเปิดโอกาสให้เด็ก เพลิดเพลินต่อการฟังเพลงหรือร้องเพลงหากในระยะแรกๆเด็กยัง ไม่พร้อมที่จะร้องเพลงสนใจเพียงการฟังเพลงก็ควรเปิดโอกาสให้ เด็กได้ฟัง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจจะร้องหรือเปิดเพลงจากวิทยุ จากเทป ให้เด็กฟังหรือร้อง รวมทั้งแสดงท่าทางประกอบไปตามจังหวะของ เพลง ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้บริหารร่างกายตามธรรมชาติ ได้พักผ่อน อารมณ์หรือผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพลงที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาใช้สอน เด็กควรให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก
วัตถุประสงค์ กิจกรรมเพลงจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ คือ


1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน ไม่เบื่อหน่ายวิชาเรียน


2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้จากบทเรียนโดยไม่รู้ตัว


3. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์


4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมที่เด็กมีโอกาสเข้ากับผู้อื่นและร่วมงานกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น เกิดความสามัคคี


5. เพื่อให้เด็กมีความคิดริเริ่ม จินตนาการในการแสดงท่าทางประกอบ


6. เพื่อกล่อมเกลาให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน


7. เพื่อปลูกฝังนิสัยและพื้นฐานทางนาฎศิลป์และดนตรีเบื้องต้นให้แก่เด็ก
ลักษณะเพลงที่เหมาะสมกับเด็ก


1. มีเนื้อร้องง่าย ๆ ใช้คำง่าย ๆ เพื่อให้เด็กฟังแล้วเข้าใจในเนื้อเพลงได้


2. เนื้อเพลงนั้นพอสมควร ไม่ยาวเกินไป เพราะเด็กจำยากและเบื่อหน่ายในการเรียนถ้าเป็นเนื้อเพลงยาวๆ ควรเป็นเนื้อร้องที่ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องให้เด็กฟังแล้วเข้าใจความหมายในเนื้อเพลงก็พอ เนื้อเพลงควรเกี่ยวกับความรู้สำหรับเด็กและมีการสอดแทรกคุณธรรม


3. มีทำนองและระดับเสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไป เพราะเด็กส่วนมากไม่สามารถทำเสียงต่ำมาก ๆ ได้ เพราะเสียงจะหายไปในลำคอ ยากแก่การร้อง ถ้าเสียงสูงมาก ๆ เด็กก็ไม่สามารถร้องได้ เด็กชอบร้องเพลงที่มีทำนองไม่ช้าหรือเร็วมากเกินไป


4. สามารถแสดงท่าทางประกอบได้ง่าย เพราะการสอนเพลงให้เด็กไม่ได้มุ่งแต่จะให้ร้องเพลงได้อย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะและแสดงท่าทางประกอบด้วย
ข้อเสนอแนะในการสอนเพลง


1. เลือกเนื้อเพลงง่าย ๆ มีเนื้อร้องสั้น ๆ


2. ก่อนสอนเพลงผู้เลี้ยงดูเด็กควรนำภาพ หรือของจริงที่เกี่ยวกับ เนื้อเพลงมาให้ดู


3. ผู้เลี้ยงดูเด็กร้องเพลงให้เด็กฟัง


4. สอนให้เด็กว่าตามเนื้อเพลงทีละวรรค


5. ให้เด็กร้องพร้อมผู้เลี้ยงดูเด็ก 1-2 เที่ยว


6. ให้เด็กร้องเพลงพร้อมกัน


7. แบ่งเด็กเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งร้องเพลง อีกกลุ่มทำจังหวะด้วย
การตบมือหรือกำจังหวะด้วยเครื่องเคาะจังหวะ


8. หมุนเวียนให้เด็กสลับสับเปลี่ยนกันร้องรำจนครบทุกคน และเปิดโอกาสให้เด็กคิดท่าทาง ตามความคิดจินตนาการของเด็กเอง


9. ให้โอกาสเด็กได้ร้องเดี่ยวหรือแสดงเดี่ยวบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น: