วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ตัวอย่างกิจกรรมคณิตศาสตร์



กิจกรรมคำคล้องจองเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เลี้ยงดูเด็กควรจัดให้กับเด็กเป็นประจำ อาจจะจัดในกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเตรียมเด็กให้สงบ เป็นต้น ซึ่งคำคล้องจองที่ใช้อาจเป็นโคลง กลอน บทร้อยกรองที่ใช้ถ้อยคำง่าย ๆ มีความยาวไม่มากเกินเพราะหากยาวมากเกินไปเด็กจะเบื่อหน่าย และควรมีสาระง่าย ๆ เมื่อเด็กท่องแล้วเกิดความสนุกสนาน
วัตถุประสงค์ กิจกรรมคำคล้องจองจัดขึ้นเพื่อ

1. ให้เด็กได้มีพัฒนาการทางสติปัญญา ด้านภาษา

2. เพื่อฝึกความจำ

3. เพื่อให้เด็กรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินจากการท่องคำคล้องจอง

4. เพื่อฝึกระเบียบวินัย

5. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์

6. เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
การจัดกิจกรรมคำคล้องจองในการสอนคำคล้องจองให้กับเด็ก ควรสอนตามลำดับขั้นโดยเริ่มจากผู้เลี้ยงดูเด็กท่องคำคล้อง จอง ให้เด็กฟังพร้อมทั้งอธิบายความหมาย จากนั้นผู้เลี้ยงดูเด็กให้เด็กพูดตามทีละวรรคจนจบ บทแล้วให้พูดตามซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เมื่อเด็กจำได้บ้าง แล้วจึงให้พูดพร้อมๆ กับผู้เลี้ยงดูเด็กขณะ ที่พูดคำคล้องจอง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจทำท่าทางประกอบหรือกระตุ้นให้เด็กคิดค่าทางประกอบเพื่อ เป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก โดยทั่วไป กิจกรรมคำคล้องจองแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิจกรรมคำคล้องจองที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับเรื่องที่สอน เพราะคำคล้องจองบางบทมีข้อความที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่จัดกิจกรรม ซึ่งจะช่วยทำ ให้ เด็กมีความเข้าใจและจดจำเรื่องราวต่างๆได้ เช่น เมื่อผู้เลี้ยงดูเด็กจะให้เด็กดื่มนมในทุกๆ วัน ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้บทคำคล้องจองดื่มนมคำคล้องจอง ดิ่มนม (ไม่ปรากฎผู้แต่ง)
ดื่มนมนั้นดีหนักหนาฉันชอบดื่มนมทุกวันใครยากจะเป็นคนเก่งคุณครูก็รัก ใครใครก็ชม

ช่วยให้กายาของเราเติบโตเพราะช่วยให้ฉันทั้งสวยทั้งโก้ขอเชิญมาแข่งดื่มนมแก้วโตแก้มป่องตากลมเพราะนมแก้วโต
หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสอนเนื้อหาเกี่ยวกับการจราจร ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจใช้คำคล้องจองสัญญาณไฟ คำคล้องจอง “สัญญาไฟ”
สัญญาณไฟ จราจร มีสามสีส่วนสีเหลือง ให้เตรียมตัว ไว้คอยดู

สีแดงมีไว้หยุดระ นะหนูหนูสีเขียวรู้ เร่งรับไว้ ไปได้เลย
จากหนังสือคู่มือพัฒนาวุฒิภาวะทางอารมณ์ ศีลธรรมและจริยธรรมระดับประถมก่อนศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2545
2. กิจกรรมคำคล้องจองที่ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหาหรือเรื่องที่จัดกิจกรรม ซึ่งเป็นคำคล้องจองที่ต้องการให้เด็กท่องเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เพื่อผ่อนคลาย ความตึงเครียดในขณะที่หรือหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิมาก ๆ เช่นคำคล้องจอง “ตระกร้อของใคร” (อ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ)
ตะกร้อของใครพอเตะมันก็กลิ้งกระโดดไปตะครุบ ตะกร้อถูกหน้า

มันใหญ่จริงจริงไปโดนตะกร้าหล่นปุ๊บพลาดท่าหกล้มจมโคลน
ข้อเสนอแนะ ในการจัดกิจกรรมคำคล้องจอง โดยธรรมชาติ เด็กเกือบทุกคนของเล่นคำ ชอบเล่นจังหวะ ดังนั้นในการเลือกบทคำคล้องจอง ผู้เลี้ยงดูเด็กควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัยเด็ก ควรเลือกบทคำคล้องจองที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ บทคำคล้องจองที่สนุกสนาน บทคำคล้องจองที่เป็นเรื่องราว บทคำคล้องจองที่เล่าเรื่อง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กควรเก็บบทคำคล้องจองเหล่านี้ไว้ใกล้ตัวให้หยิบใช้ได้ง่าย เพราะถ้าเด็กสนุกกับเรื่องที่ฟัง อาจจะอยากอ่านด้วยตนเอง
การประเมินผล ผู้เลี้ยงดูเด็กควรใช้ทักษะการสังเหตว่าเด็กสนใจในการเข้า ร่วมกิจกรรมมีการแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นภาษา คำพูดท่าทาง ประกอบ

ไม่มีความคิดเห็น: